คำแนะนำ การใช้ และ การดูแล รีเทนเนอร์
1. รีเทนเนอร์เป็นอุปกรณ์คงสภาพฟันหลังจากถอดเครื่องมือจัดฟัน คนไข้ต้องใส่รีเทนเนอร์ตามที่ทันตแพทย์บอกอย่างเคร่งครัด เพื่อเลี่ยงโอกาสการเกิดปัญหาฟันล้ม หรือฟันพยายามเคลื่อนตัวกลับไปที่เดิม
2. หากหลงลืมใส่รีเทนเนอร์นานๆ เมื่อกลับมาใส่อีกครั้งคนไข้อาจจะรู้สึกแน่น คับปาก ไม่สบายเหมือนใส่ตอนแรก แสดงว่ามีการเคลื่อนตัวของฟันเล็กน้อยแล้ว ยิ่งหากใส่รีเทนเนอร์ไม่ได้เลย ยิ่งต้องรีบกลับไปพบทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะเพียงแค่ 1-2 สัปดาห์ที่ไม่ใส่รีเทนเนอร์ฟันก็สามารถเคลื่อนไปได้มาก โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรกหลังจากถอดเครื่องมือจัดฟัน
3. เมื่อถอดรีเทนเนอร์ตอนรับประทานอาหาร หรือแปรงฟัน ควรทำความสะอาดทันที และเก็บใส่กล่องให้มิดชิด เพราะการวางรีเทนเนอร์ไว้ หรือห่อทิชชู่เอาไว้ จะทำให้คนไข้ลืมได้ง่าย
4. หลังจากถอดรีเทนเนอร์ ควรทำความสะอาดรีเทนเนอร์ทันทีด้วยแปรงสีฟันที่มีขนนุ่ม พร้อมกับยาสีฟันเพียงเล็กน้อย โดยให้แปรงสีฟันป้ายยาสีฟันเล็กน้อยทำความสะอาดรีเทนเนอร์เบาๆ จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด และเช็ดให้แห้ง
5. การทำความสะอาดรีเทนเนอร์ไม่ดี หรือไม่ทำความสะอาดรีเทนเนอร์เลย จะทำให้มีแบคทีเรียและคราบหินปูนสะสมที่รีเทนเนอร์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดกลิ่นปาก และฟันผุได้
6. สามารถแช่รีเทนเนอร์ในน้ำยาแช่ฟันปลอม หรือเม็ดฟู่ได้ เพื่อขจัดคราบที่เกาะฝังแน่นตามซอกต่างๆของรีเทนเนอร์ แต่ไม่ควรที่จะแช่บ่อยเกินไป แช่ในเวลาจำเป็นเท่านั้น (ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อน)
7. อย่าให้รีเทนเนอร์อยู่ใกล้ความร้อน น้ำร้อน หรือสารเคมีเพราะอาจทำให้เกิดความเสียหาย ผิดรูป บิดเบี้ยวได้
8. การถอดรีเทนเนอร์วางไว้แบบแห้งๆ เป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่แช่น้ำ รีเทนเนอร์อาจเสียรูปทรงได้
9. หากทำรีเทนเนอร์ตก เสียหาย ผิดรูป แตกหัก หาย หรือมีคราบสกปรกจนล้างไม่ออก ให้รีบไปพบทันตแพทย์
10. รีเทนเนอร์ควรเปลี่ยนตามระยะเวลาที่ทันตแพทย์กำหนด
11. ควรปฏิบัตตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด
12. ควรตรวจสุขภาพฟัน และรีเทนเนอร์เป็นประจำทุก 6 เดือน
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมด