ทำจากวัสดุเรซินคอมโพสิต (Composite Resin) ซึ่งวัสดุอุดฟันจะมีสีเหมือนเนื้อฟัน ทำจากเรซินผสมกับสารเคมีอื่นๆ เช่น สารยูริเทน ไดเมทาไครเลต (Urethane Dimethacrylate: UDMA) สารไตรเอทิลีน ไกลคอล (Triethylglycol Dimethacrylate: TEGDMA) ทันตแพทย์จะอุดฟันโดยใช้วัสดุเรซินคอมโพสิตมาปั้นแต่งให้ได้รูปตามต้องการ แล้วนำไปอุดบริเวณเนื้อฟันที่หายไป แล้วบ่มด้วยคลื่นแสงสีฟ้า (Visible light) เพื่อให้วัสดุแข็งตัว
วัสดุเรซินคอมโพสิตไม่มีสารปรอท สีฟันใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ มีความสวยงาม อีกทั้งการใช้วัสดุเรซินคอมโพสิตอุดฟัน ทันตแพทย์จะกรอเนื้อฟันออกน้อยเพื่ออุดฟันเพื่อรักษาเนื้อฟันเอาไว้
วัสดุอุดฟันเรซินคอมโพสิตมีราคาสูงกว่าแบบวัสดุอะมัลกัม โดยมีราคาเฉลี่ย 800 -1,700 บาท / ด้าน และมีอายุการใช้งาน 7 – 10 ปี นอกจากนี้วัสดุอุดฟันอาจติดสีจากอาหารและเครื่องดื่มที่รับประทานเข้าไป และใช้เวลาอุดนานกว่าวัสดุอุดฟันแบบอะมัลกัมอีกด้วย
วัสดุอุดฟันโลหะอะมัลกัม (Amalgam) หรือวัสดุอุดฟันแบบโลหะสีเงิน เป็นสารประกอบร่วมกันของ เงิน ตะกั่ว ดีบุก ทองแดง และอาจมีส่วนประกอบอื่น ๆ ร่วมด้วยอีกเล็กน้อย รวมตัวกันอยู่ในรูปของโลหะผสม หรืออัลลอย (alloy) มีลักษณะ นุ่ม กึ่งเหลว ซึ่งทันตแพทย์สามารถกดอัดเข้ากับโพรงฟัน และตกแต่งให้มีรูปร่างคล้ายกับฟันธรรมชาติได้
มีราคาถูกกว่าวัสดุอุดฟันแบบเรซินคอมโพสิต โดยมีราคาอยู่ที่ 500 -1200 บาท / ด้าน มักใช้ในการอุดฟันหลัง เช่น ฟันกรามเเละฟันกรามน้อย ซึ่งมีโอกาสในการเกิดฟันผุซ้ำน้อย และมีอายุการใช้งานนานกว่าวัสดุอุดฟันแบบเรซินคอมโพสิต อยู่ที่ 10 – 15 ปี อีกทั้งใช้ขั้นตอนในการอุดฟันไม่ซับซ้อน และมีปฏิกิริยาต่อความชื้นต่ำ
วัสดุอุดฟันโลหะอะมัลกัมต้องรอให้วัสดุแข็งตัวอย่างน้อย 24 ชม. จึงจะสามารถใช้บดเคี้ยวได้ นอกจากนี้ยังมีสีไม่เหมือนฟันธรรมชาติ อาจทำให้ดูไม่สวยงาม และต้องมีการกรอเนื้อฟันเพื่อฝังวัสดุอุดฟันแบบโลหะอะมัลกัมมากกว่าวัสดุแบบเรซินคอมโพสิต
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า